ขั้นแรกในการฝึกวาดภาพ

ภาพวาด

ภาพวาด

 

ภาพวาด – การสเก็ตช์ภาพ เป็นการฝึกวาด โครงร่างหยาบๆ หรือร่างคร่าวๆ ของงานศิลปะชิ้นที่ จะทำเป็นชิ้นเสร็จสมบูรณ์ การสเก็ตช์สามารถใช้ในการเตรียมงานก่อน จะสร้างงานชิ้นใหญ่ หรือเพื่อจะหาดูว่า ภาพจะมีหน้าตาออกมาอย่างไร ไม่ว่าคุณจะสเก็ตช์ภาพ แค่เอาสนุกหรือ เพราะจะทำโปรเจคงาน การเรียนรู้วิธีที่ถูกต้องจะช่วยทำให้ การฝึกสนุกขึ้นกว่าเดิมเยอะ เมื่อเราการสเก็ตช์ภาพเสร็จ สิ่งที่สำคัญต่อไปคือการแรเงา เผื่อให้ภาพวาดดูมีมิติมากขึ้น และ สวยงาม

เลือกวิธีการแรเงา เริ่มด้วยการวาดเส้น ขนานสำหรับการ แรเงาขั้นพื้นฐาน. การวาดเส้นแรเงาคือ การวาดเส้นขนานเรียงต่อกัน เพื่อให้มันเสมือนเป็นเงา ในภาพวาด คุณสามารถบีบให้เส้นนั้น เรียงชิดกันเพื่อทำเป็นเงาเข้ม หรือถ่างเส้นออกจากกันเพื่อ ทำให้บริเวณตรงนั้นดูสว่างขึ้นก็ได้ ขีดเส้นแรเงาเหล่านี้ ภายในการตวัดครั้งเดียว เพื่อทำให้มันดูสม่ำเสมอกัน

 

-เส้นแรเงานี้ สามารถใช้ได้ทั้งเส้นแนวนอน แนวตั้งหรือแนวทแยง องศาเท่าไหร่ก็ได้

-ใช้แบบเส้นแรเงา ของคุณนั้นวาดไปตามเหลี่ยมมุม ของวัตถุเพื่อทำให้มันดู เป็นสามมิติ เช่น แรเงาวัตถุทรงกลมด้วยเส้นโค้ง แทนที่จะเป็นเส้นตรง

 

ใช้การวาดเส้น แรเงาแบบกางเขนเพื่อ ให้แรเงาได้เร็วขึ้น. การวาดเส้นแรเงาแบบกางเขน นั้นจะเพิ่มเส้นอีกชั้นหนึ่ง ที่มีทิศทางไปในทางตรงกันข้าม เช่น ในตอนแรกวาดเส้นแนวนอน แล้วค่อยวาดเส้นแนวตั้งทับลงไป วิธีแรเงาแบบนี้ จะช่วยให้คุณทำพื้นที่ บริเวณนั้นให้เข้มข้นกว่าการวาดเส้นแรเงาพื้นฐาน

-วาดเส้นแรเงาแบบกาง เขนชิดกันเพื่อให้บริเวณนั้น เข้มมากขึ้น หรือถ่างมันออกให้มัน ดูสว่างขึ้น

-ใช้การวาดเส้นแรเงาโดยไม่ต้องวาดซ้อน อีกชั้นถ้าจะให้เงานั้นจางลง

 

ใช้วิธีการลงจุดเพื่อให้ดูมีสไตล์มากขึ้น. การลงจุดเป็นวิธีการยกดินสอขึ้นลงบนกระดาษ ทำให้เกิดกลุ่มจุดบนภาพวาด ลงจุดชิดๆ กันจะทำให้บริเวณ นั้นดูเข้มขึ้น

-แทนที่จะมีแต่จุด ลงวาดเส้นสั้นๆ ที่เหลื่อมซ้อนกันจะทำให้ การแรเงามีลักษณะคล้ายภาพ สไตล์อิมเพรสชั่นนิสต์ มากขึ้น

-การลงจุด ใช้ได้ดีกับการแรเงา ด้วยปากกาหรือดินสอสี ชนิดหัวหนา

 

ใช้การเกลี่ย เพื่อให้ดูกลมกลืนกัน. การเกลี่ยเงาจะทำให้ภาพดูนุ่มนวล กลมกลืน และ ดูสมจริงแต่ ต้องอาศัย เวลาและเทคนิคมากที่สุด ถ้าจะทำให้ออกมาได้ถูกต้อง ให้แรเงาด้วยปลายด้านข้างของดินสอดำไส้อ่อน แล้วค่อยเพิ่มแรงกดหนักเบาบนกระดาษเพื่อลงเงามืดและจาง

-ดินสอสีมีระดับความแข็งของไส้แตกต่างกัน ซึ่งจะถูกแยกด้วยตัวเลขและตัวอักษรไม่ B ก็ H ไส้แบบอ่อนนั้นจะใช้สัญลักษณ์ตัวอักษร B และจะยิ่งอ่อนลงเมื่อตัวเลขสูงขึ้น ดินสอไส้แข็งจะใช้สัญลักษณ์ตัวอักษร H และจะยิ่งใช้แรเงายากขึ้นเมื่อตัวเลขยิ่งสูงขึ้น ดินสอเลข 2 มาตรฐานนั้นจะมีความแข็งที่ HB ซึ่งเป็นค่ากึ่งกลางระหว่างไส้แบบอ่อนและแข็ง

-ฝึกลงแรเงาบนรูปทรงหลายเหลี่ยมมุม อย่างเช่นรูปลูกบาศก์หรือทรงกลมก่อนจะกระโดดไปแรเงาภาพวาด

 

เติมความหนักเบาลงไปในภาพวาด

1.ดูทิศทางแหล่ง กำเนิดแสง. แหล่งกำเนิดแสง จะเป็นตัวชี้ว่าจุดไหนจะต้องลงเงาเข้ม และจุดไหนเป็นจุดสว่างไฮไลท์ บนภาพวาด เงานั้นจะอยู่ด้านตรงข้าม กับแหล่งกำเนิดแสง ในขณะที่จุดสว่างไฮไลท์ จะเกิดตรงที่แหล่งกำเนิดแสงชี้ไปกระทบ

 

-ฝึกจากชีวิตจริงหรือภาพถ่าย เพื่อทำความเข้าใจว่า แสงมีผลกระทบต่อวัตถุ ที่คุณวาดอย่างไร ลองขยับแสงดู ถ้าคุณอยากเล่นกับมุมของเงา ที่แตกต่างกัน

-คนที่ชมภาพวาดของคุณจะถูกดึงดูดไปยังบริเวณที่สว่างที่สุดของภาพวาด ตัดสินดูว่าบริเวณไหนที่คุณอยากดึงจุดโฟกัสของผู้ชมไปและทำให้จุดนั้นสว่างที่สุด

 

2.กำหนดค่า ความหนักจากเบาไปเข้มลง บนกระดาษต่างแผ่นกัน. วาดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว แล้วใช้เส้นแบ่งมันออก เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส 10 ส่วนเท่าๆ กัน แรเงาสี่เหลี่ยม ทางปลายด้านหนึ่งของสี่เหลี่ยมผืนผ้า แล้วแรเงาให้เข้มที่สุด แล้วเริ่มแรเงาสี่เหลี่ยม ชิ้นติดกันให้เบากว่าค่าที่เข้มที่สุด ทำไปเรื่อยๆ ให้แรเงาอ่อนลงไป เรื่อยๆ จนกระทั่ง มาถึงปลายอีกข้าง ทิ้งสี่เหลี่ยมรูปสุดท้ายไว้ อย่างนั้นให้เป็นค่า ที่สว่างที่สุด

ใช้แต่ความหนักเบาบนลำดับของคุณในขณะแรเงา

-ใช้กระดาษแบบเดียวกับที่คุณจะใช้วาดรูป กระดาษที่แตกต่างกันจะมีพื้นผิวต่างกันและมีผลกระทบว่ามันจะแรเงาออกมาเป็นอย่างไร

-ตั้งเป้าที่จะให้มันค่อยๆ กลืนกันไปในสี่เหลี่ยมจัตุรัสแต่ละรูปมากกว่าจะให้มันตัดกันเลย สี่เหลี่ยมที่อยู่ถัดจากชิ้นที่สว่างที่สุดไม่ควรจะเข้มเกินไป

 

3.ใช้ดินสอลงเบาๆ เพื่อสร้างชั้นฐาน ของการแรเงา. ใช้ดินสอไส้อ่อน อย่างระดับ 4B เพื่อทำเงากลางๆ ขยับแขนไปมาแทน การหมุนข้อมือเพื่อ ให้มันมีจังหวะที่กลมกลืน

-อย่ากดดินสอแรง เกินไปเพราะจะทำให้ยากจะลบ จุดที่กำหนดไว้มากขึ้น ในภายหลัง

4.แรเงาบริเวณ ที่ห่างจากแหล่งกำเนิดแสงมาก ที่สุดนั้นให้เข้มที่สุด. ใช้ดินสอกดลงมากขึ้น ทำให้เงาด้านตรงข้ามกับแหล่งกำเนิด แสงเข้มขึ้น ค่อย ๆ เพิ่มชั้นการแรเงา ไล่ไปหาส่วนที่เข้มที่สุด ของภาพวาด

-เงาที่เข้มที่สุดเรียกว่าเงาหลัก

-รูปทรงกลมมน จะมีเงาตกกระทบ ลงบนด้านตรงข้าม กับแหล่งกำเนิดแสง เงาพวกนี้จะจาง กว่าเงาหลักแต่จะ เข้มกว่าเงาที่ถูกแสงกระทบ

 

5.ลบบริเวณ ที่มีแสงตกกระทบ. บริเวณที่อยู่ใกล้กับแหล่ง กำเนิดแสง จะเป็นส่วนที่สว่าง ที่สุดของภาพวาด ใช้ยางลบค่อย ๆ ลบชั้นแรเงาให้จางลง เพื่อทำให้มันเกลี่ย จากสว่างเป็นมืด อย่างกลมกลืน

 

-เติมดินสอสีขาว เพื่อทำให้บริเวณที่เป็นสีขาวนั้น เป็นขาวเข้มและโดดเด่นขึ้นมา ใช้น้อยๆ ก็พอจะได้ไม่ดูเป็นการเน้น มากเกินไป

-วัสดุ แต่ละอย่าง จะสะท้อนแสงแตกต่างกัน วัตถุที่เป็นผิวโลหะ จะมีจุดไฮไลท์ที่แสงตก กระทบสว่างกว่า ในขณะที่วัสดุ ผิวด้านจะดูทึมกว่า

 

6.เกลี่ยการแรเงา ด้วยดินสอเกลี่ยเงาเพื่อทำให้ได้งาน ที่ดูกลมกลืนนุ่มนวล. ผสมความหนักเบา เข้าด้วยกัน โดยไล่จากส่วนที่เข้มที่สุดของรูปมายังส่วนที่สว่างที่สุด ใช้ด้านข้างของดินสอเกลี่ยเงา ในการทำให้ค่าความหนักเบา ที่ต่างกันของเงาถูกเกลี่ย ไล่อย่างกลมกลืน

-สามารถหาซื้อดินสอเกลี่ยเงาได้ตามร้านขายอุปกรณ์ทางศิลปะหรือออนไลน์

-อย่าใช้นิ้วเกลี่ยเงา นิ้วบังคับได้ยากกว่าดินสอเกลี่ยเงา และไขมันจากผิวยังมีผลกระทบต่อภาพวาดด้วย

 

7.เติมเงาตก เพื่อดูสมจริงขึ้น. ถ้าคุณต้องการให้วัตถุดูเป็นสามมิติ การมีเงาตกจะทำให้ มันดูเหมือนรูปที่วาดนั้น อยู่ในพื้นที่ที่มีความลึกลงไป เงาตกจะมีรูปทรง เหมือนรูปทรงของวัตถุทาบลงไป ตัดสินดูว่าเงานั้นควรกระทบ ตกลงพื้นผิวที่จุดไหน แล้วใช้ด้านข้าง ของดินสอแรเงาตกนั้น

 

-ดูภาพถ่ายหรือภาพนิ่งว่ามุมของแสงกระทบต่อเงาตกอย่างไรบ้าง

-เส้นตัดของขอบเงาตกจะชัดเจนหรือไม่ขึ้นอยู่กับความแรงของแหล่งกำเนิดแสง แสงที่สว่างกว่าจะทำให้ขอบเงาเห็นชัดในขณะที่แสงสลัวกว่าก็จะทำให้ขอบเงาเลือนกว่า

เคล็ดลับ

-มีดินสอ ที่ปลายแหลม ดินสอปลายแหลม เหมาะสำหรับการร่างราย ละเอียดเล็กๆ

-คุณสามารถย้อน กลับมาเติมจุดที่ต้องเข้ม ขึ้นแทนเงาในภายหลัง

-ฝึกปรือ พยายามสเก็ตช์วัตถุหลายๆ แบบ และอย่ากังวล ว่าภาพร่างนั้นจะดูดีหรือไม่ โดยเฉพาะในช่วงแรกๆ อย่ากลัวที่ จะทดลองอะไรใหม่ๆ หรือแค่ วาดยึกยือไปเรื่อยๆ

-เพื่อให้ภาพสเก็ตช์ ออกมาดูดี ลองเติมลายเส้นบางๆ ของดินสอที่มีความเข้ม สีอ่อนลงไปในภาพวาด

-ยางลบนวด เหมาะสำหรับ การลบจุดเล็กๆ

-ถ้าคุณต้องการ จะเก็บภาพในคอมพิวเตอร์ คุณอาจต้องสแกน เข้าไป

-ใช้ปากกาลอกลาย มาร์กเกอร์เข้ม หรือดินสอสีเข้ม เป็นอีกวิธีที่จะทำให้ภาพสเก็ตช์ ดูสมจริงขึ้น อีกทางเลือกคือ ใช้ปากกาตัดเส้นสีดำจะเส้นบางหรือ เส้นปกติลง บนสเก็ตช์ก็ได้

-รักษาให้วัตถุ ต้นแบบอยู่ในตำแหน่งที่ คุณสามารถมองได้สบาย งานจะได้ง่ายขึ้น

-คุณสามารถสเก็ตช์โดยอาศัย จินตนาการ แต่ถ้าคิดว่ามันยาก ให้ใช้วัตถุ จริงๆ ดีกว่า

กลับสู่หน้าหลัก http://moonbigpapi.com