ภาพวาดการ์ตูน

ภาพวาดการ์ตูน

ภาพวาดการ์ตูน

ภาพวาดการ์ตูน – การเริ่มต้น หัดวาดด้วยการหัดวาดเส้น คือ การหัดวาดเส้น อันจะว่าเรื่องเส้น เส้นก็มีหลายแบบ เส้นตรง เส้นโค้ง เส้นยึกยักและเส้นต่าง ๆ ทุกเส้นเอามาประกอบเป็นภาพ เป็นการ์ตูน ได้และทุกการเคลื่อนไหวของเส้น ล้วนบอกอารมณ์ของตัวการ์ตูนได้เป็นอย่างดี ลองลากเส้นดู อาจจะดูว่าง่ายๆ แต่พบลองหัดลากเส้น ในทิศทางแปลกๆ แล้วจะพบว่า มันยาก และ สนุกอยู่เหมือนกัน

สำหรับคนที่อยากวาดรูปแล้วไม่รู้จะเริ่มตรงไหน เราขอสรุปเป็นข้อๆให้เข้าใจง่ายขึ้น

1.หาแรงบันดาลใจในการวาด หาเป้าหมายของเราว่าเราอยากวาดเพราะอะไร วาดไปทำอะไร

 

2.เริ่มต้นจากการลงทุนในอุปกรณ์ที่ถูกๆก่อน อย่าไปลุยของแพงเลย เสียดายเงินค่ะ เพราะลองๆวาดไปมันไม่ได้การันตีว่าคุณจะชอบจริงๆและทำมันต่อไปได้ค่ะ

 

3.เรียนการวาดจากสิ่งที่อยู่ใกล้ๆตัวก่อน อย่างการวาดรูปง่ายๆไปก่อน เช่น วงกลม บ้าน ก้อนเมฆ ต้นไม้ และค่อยๆไปต่อที่วาดหน้าคน รูปร่างคน เพราะเราคิดว่าเราต้องรู้พื้นฐานอย่างง่ายก่อนที่เราจะวาดมันออกมาดีคือมันต้องอาศัยการเรียนรู้ในทุกๆวัน ไม่อยากให้เริ่มจากงานยากเหมือนเรา ตอนแรกเราเริ่มต้นจากการวาดภาพเหมือน ภาพหน้าคนเลย (Portrait Drawing) ซึ่งจริงๆมันยาก ตอนแรกมองไม่ออกว่าภาพวาดของเรามันแปลกและไม่ถูกต้องตามสัดส่วนของคนจริงๆ มันมั่วมาก

 

4.หากอยากโฟกัสในเรื่องของการวาดภาพเหมือน พวกภาพคน เราต้องเรียนรู้ในเรื่องของ Anatomy Art ด้วยคือเราต้องรู้ว่าผู้ชายรูปหน้าควรเป็นลักษณะแบบนี้มีความเป็นผู้ชาย หน้าอกของผู้ชายต้องแบบนี้ หน้าอกของผู้หญิงก็ต้องเป็นอีกแบบนึง มันต้องเรียนเลยจริงๆ

 

5.ต้องไม่ลืมเรียนในเรื่องของแสงและเงาและอีกเรื่องคือเรื่องสี สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญพอๆกับการวาดรูปเพราะในบางครั้งเราวาดรูปเป็นแต่ว่าเราไม่รู้ว่าแสงตกกระทบตรงไหน ตรงนี้เราควรแรงเงาหรือไม่ มันทำให้ภาพวาดของน่าเบื่อ ไม่มีมิติเลย มันก็เหมือนไม่มีการพัฒนาเกิดขึ้นเลย

 

6.ยอมรับในคำติชมของคนรอบข้างได้และกล้าที่จะให้พวกเพื่อนๆหรือใครก็ได้ติชมงานของคุณอย่างตรงไปตรงมา เราส่งรูปภาพเหมือนที่เราวาดให้เพื่อนดูเปรียบเทียบกับภาพต้นฉบับทุกวัน เพื่อนก็จะบอกมาอย่างตรงไปตรงมา เช่น อ้าววาดปากเบี้ยวนี่ ตาก็ไม่เท่ากัน รูปหน้าก็ไม่ถูก คือบางทีเรามอง เรามองอยู่มุมเดียวว่าภาพวาดของเราดี ไม่มีผิด แต่พอเราให้คนอื่นช่วย เราจะเริ่มคิดว่า ภาพของเราไม่ได้ถูกต้องตามต้นฉบับที่เราต้องการวาดเสมอไป เราต้องยอมรับข้อบกพร่องแล้วนำมาปรับแก้ไขทักษะของเราจะได้ดีขึ้นค่ะ

 

7.ต้องวาดทุกวันอย่างสม่ำเสมอ การวาดรูปต้องมีความสม่ำเสมอ เหมือนทุกอย่างที่เราทำมันต้องอาศัยความต่อเนื่องหากไม่มีความต่อเนื่องมันคงไม่มีการพัฒนาทักษะวาดรูปของเรา

 

8.หยุดพักผ่อนบ้าง ในขณะเดียวกันการต่อเนื่องก็ต้องอาศัยการหยุดพักด้วยเหมือนกัน เหมือนการหยุดไปเพิ่มพลังงานของเรา อย่างน้อย 3 สัปดาห์ถึง 1 เดือนแล้วกลับมาวาดใหม่ เราจะได้มุมมองใหม่ๆทำให้ภาพวาดของเราพัฒนาขึ้น แต่ไม่ใช่หยุดพักแล้วหายไปเลยนะ

 

9.ต้องเรียนเพิ่มอยู่เสมอ เราต้องไม่หยุดที่จะฟังและดูภาพวาด งานศิลปะของเพื่อนๆศิลปินท่านอื่นๆ ไม่ว่าจาก Youtube หรือแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ต่างๆ เราสามารถเลือกติดตามศิลปินที่มีชื่อเสียงในอินสตาแกรม ติดตามในสไตล์การวาดที่เราชอบ มันเป็นการเพิ่มแรงบันดาลใจให้เรา และก็เป็นการเพิ่มทักษะการวาดของเราอย่างดีที่เดียวค่ะ

 

เทคนิคการวาดรูปง่ายๆ

การวาดการ์ตูนขั้นพื้นฐาน

เรื่องใบหน้าของคนจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ

  1. ช่วงหน้าผาก
  2. ช่วงตาถึงปลายจมูก
  3. ช่วงปลายจมูกถึงคาง

 

การวาดใบหน้ามุมต่างๆ  มองรูปหน้าให้เป็น 3 มิติ เป็นส่วนของวงกลมและวงรีที่ถูกตัดส่วนท้ายออกไป

 

เวลาวาดขึ้นเป็นรูปทรงเรชาคณิตตามแบบ แล้วก็แบ่งออก 3 ส่วน เติมใบหน้าตามตำแหน่งตามหลักการวาดใบหน้า

 

ต่อมาเป็นการวาดร่างกาย หลักการคือ ให้ขีดเส้น 9 เส้น ที่มีช่องไฟที่เท่ากัน 8 ช่อง แล้วก็ลองวาดหุ่นตามแบบโดยวางสัดส่วนตามภาพคือ ส่วนหัวประมาณ 1  ส่วน ช่วงตัวลงมาประมาณ 2 ส่วน ช่วงเอวถึงเป้าลงมา 1 ส่วน ช่วงขาบนลงมาประมาณ 2 ส่วน ช่วงขาล่างถึงเท้าประมาณ 2 ส่วน  

 

*สังเกตว่า ช่วงศอกจะอยู่ในช่วงประมาณเอว และมือจะเลยช่วงเป้ากางเกงลงมาอีกนิดนึง*

 

 ต่อมาเป็นการวาดทรงผม จะเห็นว่าทรงผมขั้นพื้นฐานที่นำมาสร้างความแตกต่างให้ตัวละครได้ หลักการวาดผมก็คือ วาดเส้นหลักห่างๆก่อน แล้วค่อยมาแยกเส้นย่อยที่หลัง โดยดูทิศทางแสงเงาส่วนที่ถูกซ้อนทับกันมากก็ลงเส้นถี่ขึ้น

 

*ข้อควรระวัง อย่าลงให้ช่อผมเท่ากันหมดเพราะมันจะทำให้ดูแข็ง ไม่ธรรมชาติ*

 

ตัวอย่างการวาดผม

การวาดแววตา มีหลายแบบหลายสไตล์ให้เลือกตามความชอบ นักวาดการ์ตูนอาจวาดตามสไตล์ของตัวเอง หรือทำตามอย่าง แบบทั่วๆไปที่พบเห็นตามหนังสือการ์ตูน มีตั้งแต่ดวงตาง่ายๆ ไปจนถึงดวงตาที่มีความละเอียดสูง

 

การเขียนภาพที่มีรายละเอียด 

การเขียนภาพที่มันละเอียดนั้นเราสามารถเขียนมันไปได้เลย ถ้าฝีมือเรามีพอ นั้นหมายถึงอยู่ในระดับมืออาชีพแล้ว แต่ถ้ายังจะลองแบบผมก็ได้นะครับ

 

  1. ร่างภาพขึ้นมาคร่าวๆ (มันเป็นการจัดองค์ประกอบภาพ ว่าจะมีอะไรอยู่ในหน้านี้ อะไรอยู่ตรงไหน ส่วนเรื่องการจัดองค์ประกอบ จะมีในบทต่อๆไป

 

  1. ใส่รายละเอียดลงไปให้ครบทุกอย่าง

 

  1. ใช้ยางลบ ลบเส้นที่มันดูมั่วๆออก โดยลบไปทีละนิด ให้เหลือเส้นลางๆ แล้วใช้ดินสอเขียนเส้นขึ้นมาใหม่

โดยเก็บรายละเอียดให้เหมือนกับตอนตัดเส้นด้วยหมึกเลย

 

จากนั้นก็ตัดเส้นให้เรียบร้อยครับ โดยที่ตัดลงไปบนเส้นดินสอที่เราร่างไว้อย่างละเอียด มันจะง่ายเมื่อตอนเราตัดเส้น

 

การฝึกในขั้นนี้เรียกว่า “ตีกรอบขังเส้น” เป็นวิชาที่กระผมได้รับคำชี้แนะมาจากคุณไซโอ

กระบวนท่า

 

  1. ให้วาดรูปทรงอะไรก็ได้ครับ 3 เหลี่ยม 4 เหลี่ยม หรือวงกลม
  2. ขีดเส้นตรงทีละเส้นให้อยู่ภายในกรอบที่เราวาดไว้ โดยการขีดนั้นต้องขีด หรือลากเส้นไปทางเดียวกัน เช่นถ้าขีดลงล่าง ก็ให้ขีดลงล่างทุกๆเส้น ขีดจนเต็มกรอบที่เราวาดไว้เลยครับ และเส้นต้องไม่เกินออกนอกกรอบที่วาดไว้

 

กติกา

เส้นที่ขีดจะต้องมีความห่างเท่าๆกัน เส้นไม่หงิกงอ ต้นและปลายของเส้น ต้องไม่เกินกรอบที่ตีไว้ ออ ขนาดของกรอบนั้นให้เริ่มจากช่องเล็กๆขนาดสามนิ้ว สี่นิ้วไปก่อน แล้วค่อยๆเพิ่มขนาดกรอบไปเรื่อยๆ รูปทรงก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ (ถ้าเข้าใจแล้วฝึกไปเรื่อยๆครับ วันหนึ่งอย่างน้อยสามหน้ากระดาษA4 ถึง5แผ่นครับ) ตรงนี้เป็นการฝึกสมาธิ และให้สมองของเราจดจำวิธีการไว้ครับ และยังเอาไปใช้กับการสานเส้นในอนาคตได้

 

กลับสู่หน้าหลัก http://moonbigpapi.com