ภาพวาดธรรมชาติ

การวาดภาพทิวทัศน์ หรือภาพวิว ภาพวาดธรรมชาติ

ภาพวาดธรรมชาติ

ภาพวาดธรรมชาติ การวาดภาพแสดงลักษณะธรรมชาติของภูมิประเทศที่ปรากฏให้เห็นโดยทั่วไป เช่น ทุ่งหญ้า ท้องนา ภูเขา ทะเล บ้านเรือน เป็นต้น ซึ่งเป็นภาพที่มองระยะไกล

ลักษณะการถ่ายทอดภาพทิวทัศน์

1.การวาดภาพแบบเหมือนจริง (Realistic) ก็คือการวาดให้เหมือนจริงทั้งรูปทรง สัดส่วน แสงเงา สี ระยะใกล้ไกล
2.การวาดภาพแบบตัดทอน (Distortion) เป็นการใช้สายตา ความคิดสร้างสรรค์ และอารมณ์ ลดทอนรูปทรงจากภาพจริงให้เป็นไปตามจินตนาการของจิตรกร
3.การวาดภาพแบบนามธรรม (Abstraction) เป็นการใช้อารมณ์ความรู้สึกแทนค่ารูปทรงและความเหมือนจริง

ประเภทของภาพทิวทัศน์

1.ภาพทิวทัศน์บก คือ ภาพที่แสดงความงามของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบนบก บนพื้นดินเป็นหลัก เช่น ท้องนา ทุ่งหญ้า ป่า ต้นไม้ ดอกไม้ แม่น้ำ ฯลฯ
2.ภาพทิวทัศน์ทะเล คือ ภาพที่แสดงความงามของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เป็นทะเลเป็นหลัก เช่น ชายหาด โขดหิน คลื่น เรือ ชาวประมง ฯลฯ
3.ภาพทิวทัศน์สิ่งก่อสร้าง คือ ภาพที่แสดงความงามของอาคารบ้านเรือนและสิ่งก่อสร้าง รวมทั้งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบๆอาคาร

ขั้นตอนการเขียนภาพทิวทัศน์

1.สร้างความประทับใจในธรรมชาติก่อนวาดภาพทิวทัศน์ควรเลือกทัศนียภาพที่เราชอบ เพราะความชอบจะสร้างแรงบันดาลใจเป็นพลังที่ทำให้เราสร้างสรรค์งานได้ดีกว่าวาดรูปที่ไม่ชอบ
2.วิเคราะห์ภาพทิวทัศน์ ใช้สายตามอง คิด และวิเคราะห์รายละเอียดของภาพทิวทัศน์ที่จะวาด ว่ามีรูปร่าง สัดส่วน ลักษณะผิว แสง สี และช่องว่าง ว่ามีลักษณะเช่นไรภาพที่เหมาะแก่การวาดควรจะมีรายละเอียดที่ชัดเมื่อวิเคราะห์แล้วก็ฝึกวาดแบบร่างก่อนหลายๆครั้ง
3.เลือกมุมมองและจัดภาพการเลือกมุมมองของภาพสำคัญมาก ซึ่งสามารถหามุมที่ดีได้โดยสร้างกรอบ สนามภาพ ด้วยกระดาษแข็งตัดช่องสี่เหลี่ยมตรงกลาง กว้าง 2 นิ้ว x ยาว 3 นิ้ว >>เพื่อนำแทนกล้องถ่ายรูปไง และหลักง่ายๆที่ภายในกรอบสนามภาพควรมีก็คือ จุดสนใจ เอกภาพ และดุลยภาพ
3.1.จุดสนใจหรือจุดเด่น ที่เป็นจุดที่สร้างความสนใจสะดุดตา และควรมีเพียงจุดเดียวทั้งภาพและเนื้อหาที่สื่อออกมา ไม่ควรวางจุดเด่นไว้ตรงกลางเพราะทำให้ภาพดูน่าเบื่อ
3.2.เอกภาพ คือ การจัดภาพให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกลมกลืนและสัมพันธ์กัน เพื่อป้องกันความสับสน
3.3.ดุลยภาพหรือสมดุล คือ การจัดภาพให้ถ่วงดุลกันพอดี เช่น – ซ้ายขวาเท่ากัน คือ องค์ประกอบในภาพซ้ายขวาเหมือนกัน ภาพจะดูน่าเบื่อ ซ้ายขวาไม่เท่ากัน คือ องค์ประกอบในภาพซ้ายขวาไม่เหมือนกัน แต่มองดูแล้วเท่ากัน ซึ่งภาพดูน่าสนใจมากกว่าแบบแรก
3.4.ร่างภาพด้วยเส้นทัศนียภาพ ในหัวข้อนี้สำคัญมากและมีความยุ่งยากเล็กน้อยจึงขอขึ้นเป็นหัวข้อใหม่นะมุมนี้จะมีจดเด่นชัดมาก เพราะสี แสง และขนาดวัตถุที่แตกต่างจากพื้นหลัง และมีโครงสร้างและพื้นผิวหลังคาที่กลมกลืนกันมุมนี้จะไม่ดีนัก เพราะมีจุดดึงดูดความสนใจหลายจุด ทั้งปราสาท และตึก แต่มีความสมดุลดีมุมนี้ถือว่าสมบูรณ์ เพราะแก้เรื่องจุดเด่นจากรูปที่ 2 ด้วยการขยายกรอบให้เห็นปราสาทมากขึ้นช่วยให้เห็นเด่นขึ้น และมีสมดุลแบบซ้ายขวาไม่เท่ากันแต่มองดูแล้วเท่ากัน ทำให้ภาพไม่น่าเบื่อ

การร่างภาพด้วยเส้นทัศนียภาพ Perspective เส้นทัศนียภาพ คือ เส้นที่ช่วยให้การวาดภาพบนระนาบ 2 มิติ ดูเป็นภาพ 3 มิติ มีความเหมือนจริง คือ มีความกว้าง ความยาว และความลึก เพื่อแสดงให้เห็นว่าวัตถุที่มีขนาดเท่ากัน ถ้าวางอยู่ในตำแหน่งที่ต่างกันจะมีขนาดต่างกันด้วย เช่น เสาไฟฟ้าที่อยู่ใกล้ดูใหญ่กว่าที่อยู่ไกลตา

ขั้นตอนการร่างภาพด้วยเส้นทัศนียภาพ

1.เขียนเส้นระดับสายตา (HL Horizontal Lline) : เป็นเส้นที่อยู่ในระดับเดียวกับตา หรือจะเป็นเส้นขอบฟ้า เส้นที่แบ่งท้องฟ้ากับพื้นน้ำ
2.หาจุดรวมสายตา (VP Vanishing Point) : หาได้โดยการร่างเส้นจากโครงสร้างของวัตถุุที่อยู่ในภาพไปยังเส้นระดับสายตา ซึ่งช่วยสร้างภาพวัตถุที่จะวาดให้มีระยะและขนาดต่างกัน
3.วาดรายละเอียดของวัตถุ เมื่อร่างเส้น HL และเส้นที่มุ่งไปหาจุด VP แล้ว ก็เริ่มใส่รายละเอียด แนะนำให้เริ่มร่างวัตถุที่มีขนาดใหญ่ก่อนแล้วค่อยๆร่างส่วนย่อย

หลักการทัศนียภาพ (Perspective)

การวาดภาพตามหลักทัศนียภาพ (Perspective) เป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งที่ทำให้ภาพมีมิติในเรื่องของความลึก ระยะ ใกล้-ไกล ในภาพมีหลักในการวาด คือ สิ่งที่อยู่ใกล้ตาจะมีขนาดใหญ่ สิ่งที่อยู่ใกล้ตาจะมีขนาดเล็ก

ลักษณะของเส้นต่างๆ ที่ใช้ในการเขียนภาพทัศนียวิทยา (Perspective)
1.Ground Plane (GP): แผ่นพื้นที่วางวัตถุแผ่นภาพ (PP) จะต้องวางตั้งฉากกับแผ่นพื้นหรือระนาบเสมอ
2.Horizon Line (HL) : เส้นขอบฟ้า ตั้งอยู่ในแนวระดับตา (Eye Level) เส้นนี้มีความสำคัญมากจะเป็นเส้นที่จุดรวมสายตา (VP) ตั้งอยู่บนเส้นนี้
3.Vanishing Point (VP) : จุดรวมสายตา คือจุดกำหนดที่สำคัญมากในการเขียนภาพ Perspective จุดรวมสายตาจะตั้งอยู่บนเส้นระดับตาในข้อ 2 อาจมีจุดเดียวหรือ 2 จุดก็ได้ตามชนิดการมองของภาพ Perspective
4.Station Point (SP) : เป็นจุดยืนในการมองไปยังภาพ ซึ่งเน้นเป็นลักษณะของภาพทัศนียวิทยา
5.Ground Line (GL) : เป็นเส้นพื้นที่จดแผ่นภาพเส้นนี้มีความสำคัญในการเขียนภาพ Perspective มากเพราะใช้เป็นที่ตั้งของภาพ Perspective ที่มองเห็น
6.Center of Vision (CV) : จุดรวมสายตาที่ตั้งอยู่ตรงกลางของภาพจุดที่อยู่บนเส้นนี้เรียกว่า Center Point (CV)

การวาดภาพตามหลักทัศนียภาพ (Perspective) มี 3 แบบ คือ

1.แบบจุดรวมสายตา (Vanishing Point) จุดเดียว (One Point Perspective) : มีแนวเส้นระดับ ด้านหน้าขนานกับเส้นระดับตา (Horizon Line หรือ Eye Level) ส่วนด้านลึกจะไปรวมกันที่จุดรวมสายตา (VP) ซึ่งตั้งอยู่บนเส้นระดับตา (HL)
2.แบบจุดรวมสายตา 2 จุด (Two Point Perspective) : ภาพ Perspectiveที่มีเส้นแนวระดับทั้งด้านหน้าและด้านข้างไปรวมตรงจุดรวมสายตา (VP. 1และ VP. 2) ซึ่งอยู่ด้านซ้ายและขวา
3.แบบรวมจุดสายตา 3 จุด (Three Point Perspective) : ภาพ Perspective ที่คล้ายกับแบบจุดรวมสายตา 2 จุด แต่เพิ่มการมองจุดรวมสายตาจากจุดที่ 3 (VP. 3) ตรงตามแนวดิ่ง จุดรวมสายตาที่ 3 (VP. 3) ดูภาพได้เมื่ออยู่ทั้งด้านบนและด้านล่างของเส้น ระดับตา (HL)

ขั้นตอนการวาดเส้นภาพทิวทัศน์
– ร่างภาพส่วนรวมจัดภาพให้เหมาะสมกับหน้ากระดาษ ร่างรายละเอียดแต่ละส่วน
– ลงน้ำหนักโดยรวม
– เพิ่มน้ำหนักแสงเงา และตกแต่งรายละเอียด

การวาดรูป หมายถึง การถ่ายทอดอารมณความรู้สึกส่วนตัวของบุคคลนั้น ๆ ออกมาเป็นภาพตามจินตนาการของมนุษย์บนวัตถุชนิดต่าง ๆ เช่น กระดาษ, อุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้, ผ้า, ตึกราบ้านช่อง และอีกมากมายที่เราเห็นเป็นภาพไม่ว่าจะเป็นภาพการ์ตูน ภาพคนเหมือน ภาพที่เป็นลายเส้น ufabet ภาพสถานที่ต่างๆ

ติดตามบทความ วาดภาพ เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซค์ของเรา
ภาพวาดระบายสี
ภาพวาดดอกไม้
ภาพวาด