ฮังเกอร์ คนหิว เกมกระหาย

ฮังเกอร์ คนหิว เกมกระหาย

ฮังเกอร์ คนหิว เกมกระหาย

ฮังเกอร์ คนหิว เกมกระหาย นอกจากนักแสดงมากฝีมือที่ช่วยกันรับส่งอารมณ์ โต้ตอบกันอย่างเชือดเฉือน สาดอารมณ์กันแบบเดือดสะใจ อีกองค์ประกอบที่ช่วยเพิ่มความเข้มข้น และเป็นดั่งเครื่องปรุงรสชั้นยอด คือ “เสียง” เสียงเพลง เสียง ASMR ระหว่างทำอาหารบีบคั้นอารมณ์บางเวลาก็ทำให้รู้สึกขยะแขยง สะอิดสะเอียนได้เลย ดีจนนึกเสียดายที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ได้ฉายขึ้นจอเงินในระบบเสียงคุณภาพอย่างรอบพรีเมียร์

สิ่งที่จะต้องระวังในการดูคือสำหรับคนที่กลัวเลือด กลัวร่องรอยแผล อาจจะรู้สึกไม่สบายใจกับหลายฉาก หลายตอนได้ และมีแสงไฟที่อาจทำให้มึนหัวอยู่พอสมควร

โดยรวมจัดได้ว่าเป็นความหวังของภาพยนตร์ไทยต้นปีนี้เลยก็ว่าได้ เข้มข้นเต็มรส อิ่มทุกอารมณ์​ ดุเดือดจนนั่งไม่ติดเก้าอี้ แต่จะเป็นรสชาติที่ถูกปากหรือเปล่า ต้องไปลองลิ้มชิมกันเอง 8 เมษายนนี้ ที่ Netflix เท่านั้น ดูพร้อมกัน 14.00 น. (เวลาไทย) กว่า 190 ประเทศทั่วโลก

“คนธรรมดาก็กินอาหารให้อิ่มท้อง แต่พอเป็นคนไม่มีปัญหาเรื่องปากท้อง คนหิว เกมกระหาย ความหิวก็เปลี่ยนไป เริ่มหิวการยอมรับ หิวความพิเศษ หิวประสบการณ์ที่เหนือคนอื่น”
เริ่มต้นปีมากับ ‘ฮังเกอร์ คนหิว เกมกระหาย (HUNGER)’ ภาพยนตร์น้ำดีจากเน็ตฟลิกออริจินัลงาน กำกับโดย สิทธิศิริ มงคลศิริ (แสงกระสือ) และโปรดิวซ์โดย คงเดช จาตุรันต์รัศมี (Where We Belong) พร้อมจะมาวิพากษ์ระบบชนชั้น ชำแหละความเป็นมนุษย์สิ่งที่คุณควรรู้ก่อนไปชิม “Hunger คนหิว เกมกระหาย” หนังเรื่องใหม่จาก Netflix

ด้วยเมนูอาหารสุดหรูหรา ที่ว่าด้วยเรื่องราวของ ‘ออย’ ลูกสาวคนโต ผู้สืบทอดกิจการร้านราดหน้า-ผัดซีอิ๋วต่อจากพ่อ จนกระทั่งวันหนึ่งชีวิตของเธอต้องเปลี่ยนไป เมื่อเชฟหนุ่ม ‘โตน’ ได้เข้ามาชักชวนให้เธอเข้าร่วมทีมเชฟชื่อดัง ‘HUNGER’ โดยมี ‘เชฟพอล’ เป็นผู้นำทัพ คอยทำอาหารให้เหล่าบรรดา ‘ไฮโซ’

ได้รับประทาน และนี่ก็คือจุดเริ่มต้นของเรื่องราวอันชวนระทึกเล้าใจ ของวงการอาหารไฮเอนด์ ความหิวกระหายจากเบื้องลึกในจิตใจของมนุษย์ ซึ่งล่าสุดฮังเกอร์ได้สร้างประวัติศาสตร์ใหม่ให้กับหนังไทย โดยการขึ้นท็อปอันดับที่ 3 ของโลกในหนังที่มีคนรับชมมากที่สุดของเน็ตฟลิกแล้ว *เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของหนัง*

‘ความหิว’ ที่ไม่ใช่ ‘การกิน’

เมื่อออยได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับทีมเชฟฮังเกอร์ คนหิวเกมกระหายเต็มเรื่อง เธอทั้งรู้สึกภูมิใจ และหิวกระหาย ‘ความพิเศษ’ จากตอนแรกที่เธออยู่ในร้านอาหารสตรีทฟู้ดธรรมดา จนวันหนึ่งได้ขยับขึ้นมาอยู่ในฐานะเชฟระดับไฮเอนด์ที่พิเศษขึ้นดั่งที่ใจเธอต้องการ ออยต้องสู้กับความกดดันกับการทำอาหารในฐานะเชฟคนใหม่ “กูบอกอย่าเลื่อย!” เสียงเชฟพอลตะหวาดออยผู้ที่ทำการเลื่อยเนื้อ A5 ไม่เป็น แถมเธอยังทำพังไม่เป็นท่าเมื่อถึงขั้นตอนการผัด แต่เพราะไฟแห่งความกระหาย ‘การยอมรับ’ ที่ทำให้เธอไม่หยุดที่จะพยายาม
‘ความหิว’ ที่ ‘แตกต่างกัน’

ฉากที่ทำให้เรารู้สึกประทับใจเป็นพิเศษคือฉาก ‘กินเลือด กินเนื้อ’ ที่มีแต่บรรดานักการเมือง และไฮโซจากแวดวงนักธุรกิจ ร่วมอยู่ด้วยกันเพื่อรอรับประทานอาหารจากฝีมือของเชฟพอล ซึ่งคนเหล่านี้ไม่ว่าเชฟพอลจะทำอาหารอะไรเสิร์ฟให้ลิ้มลอง ก็พร้อมจะอ้าปากพะงาบเพื่อดื่มด่ำกับรสชาติระดับไฮเอนด์ ซึ่งต้องจองคิวนานข้ามปี และธีมหลักของงานนี้ก็คือ “การกินเลือดกินเนื้อ สีต้องจัด ทุกอย่างต้องฉ่ำ กินแล้วต้องเลอะมุมปาก” ซึ่งนับเป็นการเสียดสีเหล่าบรรดาผู้มีอำนาจได้อย่างสะใจ และตรงไปตรงมา ในขณะที่คนธรรมดา กินก็เพื่ออยู่ กินก็เพื่ออิ่ม กินเพื่อมีชีวิตต่

Tags: hunger คนหิว เกมกระหาย เต็ม เรื่อง, คนหิว เกมกระหาย, คนหิวเกมกระหาย, คนหิวเกมกระหายเต็มเรื่อง, ดู คนหิว เกมกระหาย, ดูหนัง hunger คนหิว เกมกระหาย, หนัง คนหิว เกมกระหาย, หนัง คนหิว เกมกระหาย เต็มเรื่อง, ฮังเกอร์ คนหิว เกมกระหาย

ผลงานชิ้นล่าสุดของ ‘โดม-สิทธิศิริ มงคลศิริ’ ที่หน้าหนังเปิดมาอย่างโจ่งแจ้งว่านี่คือหนังอาหารที่สื่อสารกับคนหิว ทั้งหิวแสง หิวอำนาจ หิวชัยชนะ และพร้อมจะตอกหน้าผู้คนที่กระหายความเลิศหรูและการเป็นคนพิเศษ ทั้งดึงทึ้ง จิกตบ และเย้ยหยันคนเหล่านั้นว่า มันก็แค่อาหารมื้อหนึ่งที่ไม่ได้ทำหน้าที่คลายความหิวสินะ แต่มันทำหน้าที่เป็นเครื่องประดับติดปลายลิ้น ที่กินให้ตายก็ไม่มีวันอิ่ม แต่ได้กระหยิ่มว่ามีสิทธิ์ได้กินเท่านั้นเอง คือหนังเน้นหนักไปที่การจิกกัดมากกว่าการทำอาหารเสียอีก ก็แน่ละเพราะนี่คือหนังที่สร้างมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะนี่นา

ยิ่งผลงานครั้งนี้ได้ร่วมมือกับ ‘คงเดช จาตุรันต์รัศมี’ ก็ทำให้เกิดผลงานที่แสบ ๆ ชา ๆ เหมือนโดนตบเบา ๆ แต่ย้ำซ้ำ ๆ ที่จุดเดิม และสารที่หนังฉีดกระจายเอาไว้เต็มหน้าจอ ก็คือการบอกออกมาว่า สำหรับบางชนชั้นทางสังคม อาหารได้แปลงร่างเป็นเครื่องประดับราคาแพงของคนมีอันจะกินไปซะแล้ว

เขาไม่ได้กินเพราะโหยหิว แต่กินเพราะโหยหา พร้อมกับการบ่นลอย ๆ ออกมาว่า ทำไมคนเราต้องยอมจ่ายเงินเพื่อกินอาหารราคาแพง ที่บางครั้งก็ไม่ได้ซาบซึ้งกับรสชาติของมันเลยด้วยซ้ำ แค่เพียงโฉมหน้าและเรื่องราวที่ถูกปรุงแต่งซะเลิศเวอร์

ก็โอนเอนไปกับสังคมที่ฉาบฉวยกันซะแล้ว..ก็เขามีตังค์อ่ะจ้ะ จะกินเพื่ออะไรมันก็เรื่องของเขาไหมล่ะ โธ่ แต่นี่คือสารที่เราจับได้จากหนังและรู้สึกได้แบบนั้นเข้าไปเต็ม ๆ มากกว่านั้นหนังยังเน้นหนักไปที่การจิกกัดสังคมของคนมีอันจะกิน แถมยังปรามาสออกไปตรง ๆ ว่าพวกเธอมันช่างโง่เขลา

โดยให้เชฟพอลเป็นตัวแทนหมู่บ้าน แอบเสิร์ฟความอัปยศนั้น ใส่จานใบหรูให้บรรดามีทั้งหลายได้ลิ้มลอง เพราะสิ่งที่คนเหล่านั้นหิวไม่ใช่อาหาร แต่เป็นหน้าตาทางสังคม การป้อยอ และความฟุ้งเฟ้อแบบอันลิมิเต็ด คือจิกเข้าไปค่ะ จิกแบบไม่มีแผ่ว นี่ถ้าเป็นเส้นผมบนศีรษะก็โดนทึ้งแล้วทึ้งอีกจนเจ็บหนังหัวไปหมดแล้ว พร้อมกับส่งตัวแทนฝั่งหิวจริงคือออย นางเอกของเรื่องมางัดข้อกับเชฟพอล เพราะออยคือตัวแทนฝั่งหิวโหย ที่ในชีวิตหิวจริงมาโดยตลอดแต่ก็อยากให้แสงส่องลงมาทางนี้บ้าง

ด้วยการลองหิวความสำเร็จอย่างจริงจังดูสักตั้ง

เธออยากลิ้มรสความสำเร็จที่คนอื่นบอกว่ามันคือความสำเร็จดูบ้าง ทั้ง ๆ ที่สิ่งที่ทำอยู่ทุกวันก็คือความสำเร็จอยู่แล้วหากมองเข้ามาด้วยสายตาของคนภายนอก เพียงแต่เธอไม่เคยรู้ว่าเธอเหยียบอยู่บนความสำเร็จและได้สิทธิ์นั้นตั้งแต่เกิด เพราะเธออยู่กับมันทุกวันจนชินชา และเพราะสิ่งนั้นไม่ใช่สิ่งที่เธอเลือกเองตั้งแต่ต้น ฉะนั้นการออกจากบ้านไปพบเจออะไรที่แปลกใหม่ มันก็เป็นรสชาติที่หวือหวาและท้าทายดีนี่นา แต่ประเด็นมันอยู่ที่ว่าเมื่อความหิวมันจัดจ้านขึ้นทุกที ออยจะยังเป็นออยอยู่เหมือนเดิม

หรือทิ้งชีวิตที่ผ่านมาไว้ข้างหลัง และสร้างชีวิตใหม่ด้วยน้ำมือของตัวเอง โดยหันหลังให้บ้านกับ ‘ผัดงอแง’ ที่น่ากินที่สุดในเรื่องกันแน่ เรื่องนี้จึงมีหลายซีนที่ย้ำชัดไปที่ผัดงอแง เมนูเด็ดประจำบ้าน ว่าไม่ได้เป็นเพียงแค่อาหารประทังหิว แต่เป็นอาหารแห่งความสุข รอยยิ้มและความอิ่มหนำ แต่น่าเสียดายที่ผัดงอแง กลับไม่สามารถทำหน้าที่ของคำว่า ‘บ้าน ‘ ความสุขง่าย ๆ แค่หันกลับมาได้ชัดเจนอย่างที่ควรจะเป็น หลายซีนหลายจังหวะที่กำลังจะทำให้ถึงจุดพีค ให้ถึงจุดที่มีความรู้สึกร่วมว่า ‘คนเราทุกคนต้องมีบ้านให้กลับ’ แต่กลับดึงไปไม่ถึงความอารมณ์นั้น จังหวะที่ควรจะเรียกอารมณ์ให้ผู้คนคล้อยตามได้ กลับแผ่วเบา ไม่ชัดเจนและเข้มข้นเท่าที่ควร เสียดายค่ะ
เมนูน่าอร่อยที่ถูกเขี่ยทิ้งและแผลฉกรรจ์ที่เกิดขึ้นในครัว

เอาจริง ๆ อาจไม่ใช่การเขี่ยทิ้ง แต่เป็นการเล่าไม่หมด ผัดไม่สุก ผัดไม่เสร็จ จนเหมือนกับว่าเมนูเหล่านั้นถูกทิ้งขว้างอย่างน่าเสียดาย และลืมกินเอาซะดื้อ ๆ แน่นอนว่าไม่เพียงแต่ผัดงอแงเท่านั้นที่ควรขยี้ให้เข้มอีกนิด คนหิว เกมกระหาย แต่ตัวละครที่น่าสนใจอื่น ๆ ที่เป็นทั้งเมนูหลักและเครื่องเคียงก็ถูกทิ้งขว้างและปิดเตาไปซะดื้อ ๆ อย่างนั้นแหละ ไม่ว่าจะเป็นโตน ที่แนะนำตัวว่าเป็นจูเนียร์ซูส์เชฟ หรือผู้ช่วยเชฟฝึกหัด เป็นตำแหน่งที่รองลงมาจากน้าแดงที่เป็นซูส์เชฟ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ตัวผู้เขียนเองสงสัยเหลือเกินว่า มันมีด้วยเหรอตำแหน่งนี้

เพราะเท่าที่ทราบเกี่ยวกับระบบบริเกดในครัว (Kitchen Brigade) รองลงมาจากซูส์เชฟมันไม่มีจูเนียร์นะจ๊ะ หรือเขาเป็นตำแหน่งที่มีแต่ในเมืองไทยก็ไม่รู้ได้ เราซึ่งไม่เคยไปอยู่ในครัวแบบนั้นจริง ๆ เพียงแต่คลุกคลีอยู่วงนอก ก็ปิดตาซะข้างนึงก็แล้วกัน เอาเป็นว่าบทของโตนที่น่าจะได้รับความสนใจมากกว่าฉากจูบและการเป็นคนไปเลือกซื้อวัตถุดิบ กลับเบาบางยิ่งกว่าควันในห้องอาหาร โดยเฉพาะซีนหมดศรัทธาในตัวเชฟพอล ที่โตนสะบัดบ๊อบแล้วก็หายไป โดยปล่อยคนดูอย่างเรานั่งเก้อว่า อ้าว..คือแค่นี้ ใส่มาแค่นี้จริง ๆ ดิ ไม่มีต่ออีกหน่อยจริง ๆ เหรอ โตน

นี่มันคือซีนที่หนูควรจะได้ไปแบบเต็ม ๆ นะลูก แต่ไม่ได้ซะงั้นละค่ะ นี่โมโหแทนโตนเลยนะบอกไว้ก่อน ถัดมาคือซีนของตัวละครอื่น ๆ ที่ผู้เขียนมองว่าน่าสนใจและพร้อมจะเป็นไซด์ดิชที่ไม่กินไม่ได้ของเรื่องนี้กันเลยทีเดียว คือแบ ผู้ช่วยเบ็ดเตล็ดที่ยิ้มอย่างเดียวและตะบี้ตะบันหั่นแบบไม่พูดไม่จา เป็นตัวละครที่คิดว่าต้องมีอะไรมาเล่นให้เป็นการบดขยี้ถึงความต่างชั้นทางสังคม แรงงานต่างด้าว หรืออะไรเทือกนั้นแน่ ๆ แต่ก็ปลิวไปกับเศษผักบนเขียงซะอย่างนั้น

moonbigpapi