รีวิวหนัง ทิดน้อย ความสนุกพายิ้ม แต่กลับขำไม่สุด
ทิดน้อย เปิดศักราชใหม่ได้อย่างน่าสนใจตั้งแต่ต้นปี สำหรับภาพยนตร์ไทย “ทิดน้อย” แนวคอมเมดี้ ดราม่า พาให้หัวใจได้ลิ้มรสคำว่ารักแท้ แต่ข้างเดียว มาพร้อมความเสียวสันหลังกับการผสมผสานภาพยนตร์ระทึกขวัญในตำนานอย่างพื้นเรื่องของนางนาก มาเป็นพล็อตสำคัญของการถ่ายทอดอารมณ์ความรัก ในมุมมองของตัวละครใหม่ ทิดน้อย ให้ผู้ชมได้สัมผัสมุมมองความรักที่แตกต่างออกมา
ภาพยนตร์ ทิดน้อย เล่าเรื่องราวมุมมองความสัมพันธ์ของสามตัวละครอย่าง นาค มาก และ แน่นอนว่าเพียงชื่อตัวละครเราคงจะนึกย้อนถึงพล็อตเรื่องของภาพยนตร์ในเครือจักรวาลของนางนากกันได้พอประมาณ ซึ่งในภาพยนตร์เรื่องนี้ดำเนินเรื่องผ่านตัวละครของ ทิดน้อย ชายผู้มั่นคงในความรักแท้ ทิดน้อย ที่ดูแลสาวงามประหนึ่งนางในดวงใจ ทว่าความรักของยกลับไม่ง่าย เมื่อมีอีกหนึ่งหนุ่มที่เข้ามาทำให้ใจของนางนาคนั้นหวั่นไหว และรักเธอไม่แพ้กัน จึงทำให้เกิดเป็นความสัมพันธ์อันซับซ้อน และความอลหม่านในการสานต่อความรักของพวกเขา
สำหรับภาพยนตร์ ทิดน้อย เป็นฝีมือของนักแสดงตลกชื่อดัง ที่มีผลงานร่วมกำกับภาพยนตร์ตลกมามากมาย อย่าง “เท่ง เถิดเทิง” ซึ่งเคยสร้างเสียงหัวเราะให้ผู้ชมได้ประจักษ์กันในการกำกับภาพยนตร์ เท่งโหน่งคนมหาเฮีย และ เท่งโหน่ง จีวรบิน ซึ่งถือได้ว่ากระแสตอบรับค่อนข้างดีพอสมควร ซึ่งในเรื่องนี้ก็มีดีไม่แพ้กัน ถึงจะไม่มีการสาดมุกเข้ามามากมาย แต่ก็หลากหลายในการแบ่งสัดส่วนของบทให้เรียกรอยยิ้มได้อย่างเป็นระยะ
แต่หากพูดถึงพล็อตการดำเนินเรื่อง อาจจะต้องบอกตรง ๆ ว่า สามารถเดาทางในการดำเนินเรื่องได้ตั้งแต่ต้น จนถึงปลายทางของเรื่อง ด้วยการนำเอาพื้นฐานของเรื่องเครือจักรวาลนางนาก มาเล่าเรื่องโดยเพิ่มตัวละครของ ทิดน้อย ลงไปเท่านั้น มันอาจจะมีความแปลกใหม่ในฉากของตัวละคร แต่หากตัดตัวละครนี้ออกไป เหมือนเรากำลังรับชมนางนากในอีกเวอร์ชันเลยก็ว่าได้
ทว่าแกนของเรื่องสื่อสารในส่วนของความรักแท้ แท้ ออกมาได้อย่างไหลลื่น เพราะไม่ใช่เพียงแค่ความสัมพันธ์ของสามตัวละครเท่านั้น แต่ยังมีอีกหนึ่งตัวละครที่มีความรักแท้ แท้ ไม่แพ้กัน มันจึงเป็นการเล่าให้เห็นมุมมองความรักที่ถึงแม้ไม่ได้ครอบครอง เพียงแค่ได้ดูแล และอยู่ใกล้เธอก็พอแล้ว ซึ่งระยะเวลาในการดำเนินเรื่องถือว่ากระชับพอสมควร และสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้อย่างง่ายไม่ซับซ้อนมากนัก เป็นความสนุกแบบธรรมชาติให้ได้ผ่อนคลายไปอย่างครบรส
จังหวะการตัดต่อ และการลำดับเรื่องราวในภาพยนตร์ทำออกมาได้อย่างนุ่มนวล และลื่นไหลเป็นอย่างดี มการแบ่งลำดับในการเล่าเรื่องพาร์ทหลัก พาร์ทรองของตัวละครได้ดี มีความหนักเบาของอารมณ์สลับกันไป มีจุดเชื่อมโยงของแต่ละฉาก ให้ได้เห็นว่าตัวละครนั้นคือใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร และเพื่ออะไร มีเป้าหมายของตัวละครวางไว้อย่างชัดเจน อีกทั้งการใส่มุกตลกเข้ามามีการจัดสรรลำดับให้ผู้ชมสามารถยิ้มตามออกมาได้อย่างเป็นระยะ ผสานไปกับความดราม่าแบบกลมกล่อม
ด้านการแสดงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่หลายคนจับตามอง ด้วยการได้นางเอกระดับต้นของเมืองไทย อย่าง “อั้ม พัชราภา” มารับบทเป็น นาค ซึ่งเธอสามารถแสดงความสดใส และสวยหวานผู้เป็นสาวงามในยุคนั้นออกมาได้ดี และมีความคอมเมดี้อยู่ในตัวเองประมาณหนึ่ง และ “อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม” รับบทเป็น มาก ชายหนุ่มผู้หลงรักนาคอย่างเต็มหัวใจ พร้อมไปกับ “เท่ง เถิดเทิง” รับบทป็น เป็นทั้งนักแสดง และผู้กำกับที่เต็มที่ในทุกฉาก และเป็นตัวชูโรงของภาพยนตร์เรื่องนี้ ที่ถือว่าแกนความตลกอยู่ที่เขาเลยจริง ๆ
ตามต่อกันด้วยนักแสดงสมทบคับคั่งตลอดทั้งเรื่อง ขนมาในทุกแขนงไม่ว่าจะเป็นนักสดงตลก นักแสดงมากฝีมือมากมาย ที่เข้ามาสร้างสีสันในแต่ละฉากได้อย่างเฮฮา ถึงแม้จะมาเพียงเวลาสั้น ๆ แต่ก็ทำเอาเรียกรอยยิ้มได้ดีเช่นกัน พวกเขาอาจจะไม่ได้มีบทบาทที่สาดเข้ามามากมาย แต่ก็เป็นจุดที่ทำให้เราได้ต่อเติมการดำเนินเรื่องให้สมบูรณ์ความสนุกมากยิ่งขึ้น
โดยภาพรวมแล้วนั้น ภาพยนตร์ ก็ถือว่าเป็นภาพยนตร์อีกคอมเมดี้ ดราม่า ที่สามารถดูได้อย่างเพลิน ๆ อาจจะไม่ได้มีความแปลกใหม่ในการดำเนินเรื่อง และมุกตลกมากนัก แต่ถือว่าองค์ประกอบการแสดง การถ่ายทอดอารมณ์ของตัวละครทำออกได้น่าพึงพอใจ เราได้สัมผัสความรักแท้ที่แม้ไม่ได้ครอบครองแต่เธอยังคงเป็นความสุขของหัวใจ ถึงแม้จะจับทางการดำเนินเรื่องได้พอประมาณ แต่ฉากใหม่ที่เสริมเข้ามาพาให้เราได้สนุกไปแบบครบรส
พงษ์ศักดิ์ พงษ์สุวรรณ ในฐานะผู้กำกับเคยผ่านงานมาแล้วทั้ง ‘เท่ง โหน่ง คนมาหาเฮีย’ ‘เท่ง โหน่ง จีวรบิน’ และ’แคท อ่ะ แว่บ!’ ที่ล้วนประสบความสำเร็จด้านรายได้เป็นอย่างดี และในอีกชื่ออย่าง เท่ง เถิดเทิง ก็คือนักแสงตลกที่สามารถข้ามความสำเร็จจากวงการทีวีสู่วงการภาพยนตร์ได้อย่างสวยงามทั้งงานสร้างชื่ออย่าง ‘มือปืน/โลก/พระ/จันทร์’ จนถึง ‘หลวงพี่เท่ง’ ที่สามารถสร้างรายได้ระดับปรากฎการณ์ได้ทั้งคู่
และหลังจากทิ้งทวนงานกำกับไป 8 ปี พี่เท่ง เถิดเทิงก็กลับมาอีกครั้งกับงานกำกับครั้งใหม่อย่าง หนังที่ขอหยิบตำนานแม่นาคพระโขนงมาเล่าใหม่ในมุมมองของคนแอบรักอย่างตัวละครที่ถูกมอบหน้าที่ คนตาบอดเพราะความรัก เรียกได้ว่านี่จะเป็นงานหนังตลกปนโรแมนติกเรื่องแรกในพอร์ตโฟลิโองานกำกับของเขา
พงษ์ศักดิ์ พงษ์สุวรรณ ในฐานะผู้กำกับฯ เคยผ่านงาน ‘เท่งโหน่ง คนมาหาเฮีย’ ‘เท่งโหน่ง เจ๊วรบิน’ และ ‘แคท วับ!’ ที่ล้วนแต่ประสบความสำเร็จในด้านรายได้ ได้เป็นอย่างดี และในอีกชื่อ เท่ง เถิดเทิง เป็นนักแสดงตลกที่ก้าวข้ามจากวงการทีวีสู่วงการภาพยนตร์ได้อย่างงดงามรวมถึงสร้างชื่ออย่าง ‘มือปืน/โลก/พระ/จันทร์’ สู่ ‘หลวงพี่เท่ง’ ผู้ซึ่ง ได้ทั้งสร้างรายได้มหาศาล
และหลังจากกำกับมา 8 ปี พี่เท่ง เท่ง โหน่ง ก็กลับมาอีกครั้งกับผลงานการกำกับเรื่องใหม่อย่าง ‘ทิดน้อย’ หนังที่ขอย้อนตำนานแม่นากพระโขนงในมุมมองของคนที่แอบรักตัวละคร ทิดน้อย. delegated blind for love นี่จะเป็นโรแมนติกคอมเมดี้เรื่องแรกในผลงานการกำกับของเขา
ณ ทุ่งพระโขนง สาวสวยอย่าง แน็ก (พัชราภา ไชยเชื้อ) ตกเป็นเป้าของหนุ่มๆ หลายคน รวมทั้ง หมาก (อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม) หนุ่มหล่อบึกบึนแห่งทุ่งพระโขนง และ ทิดน้อย (ติ๊งโน้ต เท่ง โหน่ง) ผู้ชาย . ชายหนุ่มผู้มีสายตาจับจ้องแต่พญานาคเป็นใหญ่ผู้ได้หัวใจพญานาคไปครอบครองแต่หลังจากถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารทิดน้อยก็ต้องรับหน้าที่ดูแลนาคที่ตั้งท้อง . และระหว่างนี้มาพิสูจน์กันว่าระหว่างรักแท้ของหมากกับรักแท้ของทิดน้อยใครจะได้ครอบครองหัวใจนาคกันแน่?
ดูหนังแล้วก็คงไม่ผิดถ้าจะบอกว่าบทของ ‘ทิดน้อย’ ดูจะเป็นภาคต่อของละครสามช่าไม่ต่างจากผลงานเรื่องก่อนๆ และมีฉากฟินๆ ที่หลายคนคิดถึงจากชิงร้อยชิงล้าน เมื่อคนดูไม่ต้องสนใจเนื้อเรื่องก็เปิดโอกาสให้พี่เท่งใส่มุก พี่เท่งใช้บริการนักแสดงตลกแนวร่วมตั้งแต่รุ่นเก๋าอย่างพี่โหน่งหรือน้าสาว เชิญยิ้ม ไปจนถึงคนรุ่นใหม่อย่างแจ๊ค พัดชา และรัศมีแข ฟ้าเกื้อลอน ที่สร้างสีสันให้หนังได้ ดีมาก
แต่ไฮไลต์จุดขายของหนังจริง ๆ คือการเอา อนันดา เอเวอริงแฮม
ที่ไม่ค่อยปรากฎตัวในหนังตลกแนว ๆ นี้มาประกบคู่กับ อั้ม พัชราภา ไชยเชื้อ นางเอกซุปตาร์ที่ร้างจอไปนานกลับมารับบท แม่นาค อีกรอบหลังจากแสดงในเวอร์ชันละครไปเมื่อ 24 ปีที่แล้วก็ทำให้ มีแนวทางชัดเจนว่ากลุ่มเป้าหมายคือบรรดาแฟนคลับอั้ม รวมถึงคนที่เคยดูหนังที่อนันดาเล่นแล้วอยากเห็นเขาเล่นบทตลกบ้างก็ทำให้หนังดูมีสิ่งที่ชวนติดตามไม่น้อยเลยทีเดียวล่ะ
เพียงแต่ งานกำกับของพี่เท่งก็ยังไม่สามารถทำให้อั้มและอนันดา เก็ตกับการเล่นมุกแบบด้นสดหรือการปล่อยจอยไหลไปกับบทแบบเดียวกับนักแสดงตลกรับเชิญมากมายบนจอได้ เลยทำให้ภาพรวมเองก็ออกมาไม่กลมกล่อมนัก นักแสดงหลักก็ดูจะพยายามแสดงในส่วนที่เล่าเรื่อง แต่ด้วยงานกำกับที่ไม่ได้เน้นการคุมแอ็กติ้งก็ทำให้ภาพรวมการแสดงของทั้งคู่ออกมาดูไม่จืดจนเหมือนนักแสดงฝีมือตกอย่างเห็นได้ชัด
ส่วนนักแสดงตลกก็เอามาสร้างสีสันแบบไม่ได้มีผลกับเรื่องราวเท่าไหร่นัก มิหนำซ้ำคงต้องยอมรับล่ะว่าหากจะประเมินในฐานะหนังตลกเองก็ยังเป็นหาจังหวะที่จะทำให้คนดูขำได้ยาก เพราะการเอาโนว์ฮาว (Know How) การเล่นมุกไปเรื่อยแบบละครสั้นสามช่ามาใช้กับหนังชั่วโมงครึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาเลยกลายเป็นหนังที่ล้นไปทุกส่วนจนบาลานซ์ระหว่างความตลกกับความโรแมนติกอย่างที่มันอยากเป็นไม่ได้
และไม่เพียงมุกตลกที่เล่นอะไรก็ดูผิดจังหวะเท่านั้น แม้แต่ไอเดียที่เป็นจุดขายอย่างการเอามาเป็นตัวละครศูนย์กลางในการเล่าเรื่องก็กลับเล่าได้สะเปะสะปะเหมือนไม่รู้ว่าจะวางมันไว้ตรงไหน จะให้คนดูลุ้นว่าทิดน้อยจะเอาชนะใจนาคยังไงก็ดันให้คาแรกเตอร์ดูไม่ค่อยฉลาด เข้าข้างตัวเองและแสดงความเห็นแก่ตัวออกมาเรื่อย ๆ หรือจะให้คนดูซาบซึ้งกับความเสียสละของทิดน้อยและทำให้เห็นความรักที่มั่นคงของเขา หนังก็กลับไม่ได้ให้น้ำหนักกับเรื่องราวในส่วนนี้มากพอเสียด้วย
และปัญหาสำคัญของหนัง เลยคือการที่พี่เท่งยังยึดติดกับรสนิยมการดูหนังของตนเอง จนทำให้จังหวะจะโคนการเล่าเรื่องของมันดูเชื่องช้า ย่ำกับที่ และไม่ตอบโจทย์ในการพาผู้ชมยุคใหม่เข้าโรงไปฮากับหนังสักเท่าไหร่ และที่ถือว่าไม่สนใจความเปลี่ยนแปลงของสังคมเลยก็คือบทเดือนของ รัศมีแข ฟ้าเกื้อล้น ที่ยังคงเป็นมุมมองผู้ชายในยุคเบบี้บูมที่เห็นกะเทยเป็นสิ่งแปลกปลอมและหมั่นลวนลามผู้ชายจนดูน่ากลัว
และกล่าวสรุปอย่างโหดร้ายที่สุด การเอาหนังทั้งเรื่องความยาว 105 นาที ที่เล่าเรื่องยืดยาวและมุกตลกไม่ทำงานกับคนดูไปเทียบกับคลิปตลก ๆ ที่มีความยาวเพียงไม่กี่วินาที ก็คงไม่ต้องบอกหรอกนะว่าระหว่างการเสียเงินซื้อบัตรชมภาพยนตร์ในยุคที่เศรษฐกิจฝืดเคืองกับการเปิดคลิปตลกในแอปต่าง ๆ แถมดูได้ทุกที่ ผู้ชมที่ต้องการความบันเทิงแบบทันทีจะเลือกแบบไหน
เป็นภาพยนตร์ล่าสุดของค่าย M39 ผลงานการกำกับของ เท่ง เถิดเทิง ที่ได้ อั้ม พัชราภา ไชยเชื้อ มาประกบคู่ อนันดา เอเวอริงแฮม ซึ่งมีความพิเศษตรงที่ อั้ม ไม่ได้ปรากฏบนจอภาพยนตร์มานานถึง 8 ปีแล้ว
ซึ่งเอาเข้าจริงๆ แล้ว คนที่โดดเด่นในภาพยนตร์มากที่สุด ก็หนีไม่พ้น เท่ง เถิดเทิง เพราะภาพยนตร์ก็ตั้งชื่อตามคาแรคเตอร์ที่เท่งรับบท ที่ค่ายหนังก็บอกมาแต่ต้นแล้วว่า คือเรื่องราวตำนานแม่นาคพระโขนงบทใหม่ ที่เล่าผ่านพี่ข้างบ้านที่แอบรักแม่นาค ซึ่งก็คือ นั่นเอง
ที่ผ่านมาเรื่องราวของแม่นาคพระโขนง ถูกนำมาตีความเป็นภาพยนตร์หลายต่อหลายครั้ง ทั้ง
นนทรีย์ นิมิบุตร ที่ทำทุกคนขนลุกกับ “นางนาก”, ด้าน บรรจง ปิสัญธนะกูล ก็เน้นมุมมองความรักผ่านสายตาของพี่มากใน “พี่มากพระโขนง”, หรือก่อนหน้านี้กับตำนานแม่นาคที่เล่าผ่านลูกชายใน “แดง พระโขนง”
และ ก็ถือเป็นตำนานบทใหม่ของแม่นาคพระโขนง ที่คราวนี้ เท่งเถิดเทิง ขอเล่าผ่านสายตาของพี่ข้างบ้านของแม่นาค ในนามว่า ซึ่งยังไม่เคยมีใครทำแบบนี้มาก่อน แม้หนังจะมีความเดาง่าย เพราะทุกคนรู้อยู่แล้วเกี่ยวกับเรื่องราวของแม่นาค แต่แม่นาคที่มีเข้ามาอีนุงตุงนังอยู่ด้วยกับพี่มากและแม่นาคตลอดทั้งเรื่อง ก็พอให้อารมณ์แปลกใหม่อยู่บ้าง
เล่าผ่านสายตาของชาย(เท่งเถิดเทิง)ที่แอบหลงรักแม่นาค(อั้มพัชราภา)เป็นตำนานเล่าถึงรักแท้ของ หนุ่มใหญ่ข้างบ้านของ นาค โดย กับ นาค เป็นเพื่อนเล่นกันมาตั้งแต่เด็ก เขารักและดูแลเธออย่างดี เป็นนางในดวงใจที่หวังจะร่วมหอลงโรงด้วย แต่ นาค กลับเคารพรักเป็นพี่ชายที่แสนดี